ทารก
หมายถึง เด็กที่อยู่ในวัยตั้งแต่เกิดจนถึงอายุหนึ่งขวบส่วนเด็กก่อนวัยเรียนหมายถึง
เด็กที่มีอายุตั้งแต่
หนึ่งถึงหกขวบอาหารสำหรับทารกและเด็กก่อนวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับชีวิตในระยะนี้และระยะต่อไปในปีขวบแรกทารกจะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 3000
กรัม ทารกที่ได้รับโภชนาการที่ดีจะมีการเพิ่มของน้ำหนัก
ดังนี้
- แรกเกิด หนัก 3
กิโลกรัม
- 5 เดือน หนัก 6
กิโลกรัม
- 12 เดือน หนัก 9
กิโลกรัม
- 2 ปี
หนัก 12 กิโลกรัม
- 5 ปี หนัก 15
กิโลกรัม
เด็กวัยก่อนเรียน
น้ำหนักของเด็กวัยก่อนเรียนสามารถคำนวณได้โดยน้ำหนัก(กิโลกรัม) = 8+[(2)(อายุ)]ส่วนมากเด็กในวัยนี้จะขาดโปรตีนและแคลอรี
น้ำหนักของเด็กวัยก่อนเรียนสามารถคำนวณได้โดยน้ำหนัก(กิโลกรัม) = 8+[(2)(อายุ)]ส่วนมากเด็กในวัยนี้จะขาดโปรตีนและแคลอรี
อาหารและปริมาณอาหารที่เด็กวัยก่อนเรียนควรได้รับ
- เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 2-4 ช้อนโต๊ะ และควรได้รับเครื่องในสัตว์ด้วย
- เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 2-4 ช้อนโต๊ะ และควรได้รับเครื่องในสัตว์ด้วย
- ไข่ ควรได้รับทุกวัน วันละ 1 ฟอง
ไข่ให้ทั้งโปรตีนและเหล็ก
- น้ำนม ควรได้รับอย่างน้อยวันละ 2
ถ้วยตวง จะใช้นมถั่วเหลืองแทนก็ได้
- ถั่วเมล็ดแห้ง
หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก็ได้ ควรได้รับวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
- ข้าว ควรได้รับวันละ 2-3 ถ้วยตวง
หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของเด็ก
- ผัก
เป็นผักสีเขียวหรือสีเหลืองก็ได้ ควรได้รับวันละ 4-8 ช้อนโต๊ะ
- ผลไม้ ควรให้เด็กกินทุกวัน
เพื่อให้ได้รับวิตามินซี
- ไขมัน
ควรได้รับน้ำมัน(ซึ่งอยู่ในรูปของอาหารผัดหรือทอด)วันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ
วัยรุ่น
อาหารและปริมาณอาหารที่วัยรุ่นควรได้รับ
น้ำนม ควรดื่มวันละ 2-3 ถ้วยตวง
เพราะมีแคลเซียม โปรตีน และวิตามินมากมาย
ไข่ ควรทานวันละ 1 ฟอง เพราะมีโปรตีน
เหล็ก และวิตามินเอ
เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ
150-180 กรัม หรือประมาณ 3/4 ถ้วยตวง และควรได้รับเครื่องในสัตว์ควบคู่ไปด้วย
ถั่วเมล็ดแห้ง
เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง
ผัก
อาจเป็นผักสีเขียวหรือผักสีเหลือง ควรได้รับทุกวัน มื้อละ 1/2 ถ้วยตวง
ผลไม้ ควรได้รับทุกมื้อ
ข้าว ควรได้รับวันละ 5-6 ถ้วยตวง
ไขมัน ควรได้รับน้ำมันวันละ 3-4
ช้อนโต๊ะ
ผู้สูงอายุ
อาหารและปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับ
เนื้อสัตว์ ควรได้รับวันละ 120 กรัม ควรเป็นเนื้อปลา และควรได้รับเครื่องในสัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ไข่ ย่อยและดูดซึมง่าย ควรได้รับสัปดาห์ละ 3-5 ฟอง
น้ำนม มีแคลเซียมเพื่อช่วยในการสร้างกระดูก ควรใช้นมผงที่ไม่มีไขมัน 4 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ 1 ถ้วยตวง
หรือดื่มนมถั่วเหลืองแทนก็ได้
ถั่วเมล็ดแห้ง ควรนำมาต้มให้นิ่มก่อนกิน ควรได้รับวันละ 1/2 ถ้วยตวง
ควรกินครั้งละน้อยๆ เพราะถ้ากินมากจะทำให้เกิดท้องอืด
ข้าว ควรได้รับวันละ 3-4 ถ้วยตวง
ผัก ควรกินทุกวันเพื่อได้รับวิตามิน และกากอาหารช่วยไม่ให้ทองผูก
ไม่ควรกินผักดิบเพราะมีกากอาหารมากเกินไปย่อยยาก ทำให้ท้องอืดเพราะมีก๊าซมาก
ยกเว้นผักกาดหอมที่กินทั้งดิบๆได้
ผลไม้ ควรกินทุกวันวันละ 1-2 ครั้ง ควรเลือกที่ย่อยง่าย
เคี้ยวง่าย
ไขมัน ไม่ควรกินไขมันมากเกินไป
เพราะจะทำให้ท้องอืดและมีน้ำหนักเพิ่ม ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคมาก ประมาณ
2-2.5 ช้อนโต๊ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น