วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นในการทำอาหารไทย

ความรู้เบื้องต้นในการทำอาหารไทย
การทำอาหารและขนม ผู้ประกอบอาหารจะทำให้ได้ผลดีต้องขึ้นอยู่ที่การฝึกฝน และการเรียนรู้วิธีการทำอาหาร รู้จักดัดแปลงตกแต่งอาหารชนิดต่างๆ ให้สะดุดตาสะดุดใจต่อผู้พบเห็นทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะต้องติดใจในรสชาติและกลิ่นของอาหารการทำอาหารผู้ทำจึงควรหมั่นฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ เพื่อให้มีประสบการณ์ต่ออาหารชนิดนั้นๆ และเพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้เรื่องอาหาร
   ความมุ่งหมายของการทำอาหร
1.   เพื่อให้อาหารสุก สะอาด ปราศจากเชื้อโรค ถูกสุขลักษณะ
2.   เพื่อให้อาหารย่อยง่ายขึ้นโดยการทำอาหารให้นุ่ม
3.   เพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการดีขึ้น โดยการประกอบอาหารให้ถูกหลัก
4.   เพื่อให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้น โดยการจัดให้มีสีสันสวยงาม
5.   เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ เช่น การถนอมอาหาร
เมื่อรู้ความมุ่งหมายแล้วผู้ประกอบอาหารควรมีความรู้เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ในการประกอบอาหาร เพราะความต้องการของมนุษย์ ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ซึ่งความต้องการต่างๆ สามารถกำหนดให้มีขนาดและคุณภาพแตกต่างกันได้ แต่เมื่อพิจารณาในเรื่องอาหารนับเป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์เราตั้งแต่เกิดจนตายจากไปถ้าเรารู้จักแต่เพียงรับประทานอาหารเป็นเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่รู้จักคุณค่าของอาหาร ประโยชน์ที่เราจะสรรหาอาหารมารับประทานก็คงไม่มี
การเลือกซื้ออาหาร
   อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ในวันหนึ่งๆ คนเราต้องกิจอาหารถึง 3 มื้อ การเลือกซื้ออาหารจึงมีความจำเป็นที่ผู้ซื้อต้องมีหลักในการซื้อ เพื่อช่วยในการตัดสินใจจะทำให้ได้อาหารที่มีคุณภาพดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย การเลือกซื้ออาหารประเภทต่างๆ ควรมีหลักดังนี้
      การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์
1.   เนื้อหมู เลือกที่มีสีชมพูอ่อน มัมสีขาว เนื้อแน่นเวลากดเนื้อจะไม่บุ๋ม
2.   เนื้อวัว เลือกที่มีสีแดงสด มันสีเหลือง เนื้อสันในจะเป็นเนื้อที่เปื่อยที่สุด ถ้าเนื้อไม่สดจะมีสีเขียวดำๆ
3.   ไก่ ต้องมีหนังบาง สีไม่ซีด ไม่มีกลิ่นเหม็น
4.   ปลา ควรเลือกปลาสด ผิวเป็นมัน มีเมือกใสๆ บางๆ หุ้มทั่วตัว เกล็ดแนบกับหนัง ไส้ไม่ทะลักออกมา ตาสดใสฝังในเบ้า เหงือกสีแดง ไม่มีกลิ่น เนื้อแน่น
5.   กุ้ง ควรเลือกกุ้งสด หัวติดแน่น ตาใส ตัวมีสีเขียวปนน้ำเงินใส เนื้อแข็ง เปลือกสดใส ตัวโต
6.   หอย ควรเลือกปากหุบแน่น เมื่อวางทิ้งไว้ปากจะอ้าออก และหุบไว้แน่นสนิท ก็แสดงว่ายังมีชีวิตอยู่ ถ้าเป็นหอยที่แกะเอาเปลือกออกแล้วต้องมีสีสดใส




7.   ปู ถ้าเลือกซื้อปูทะเลจะมีสีเขียวเข้ม หนัก ตาใส กลางหน้าอกแข็งกดไม่ลง ไม่ยุบง่าย ถ้าต้องการปูไข่เลือกตัวเมีย ถ้าต้องการปูเนื้อเลือกตัวผู้ ปูตัวเมียฝาปิดหน้าอกจะใหญ่ ปูตัวผู้ฝาปิดหน้าอกเรียวเล็ก
8.   ไข่ การใช้ไข่ประกอบอาหารและขนมมีทั้งไข่เป็ดและไข่ไก่ ควรเลือกไข่สดถ้าไข่สดผิวนอกของเปลือกไข่จะมีลักษณะเป็นสีนวล เมื่อต่อยออกใส่ภาชนะจะเห็นไข่แดงนูนตรงกลาง

  การเลือกซื้อผลไม้






1.   ต้องดูผิวสดใหม่
2.   ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็ง
3.   เปลือกไม่ช้ำ ดำ
4.   ขนาดของผลสม่ำเสมอ



การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
1.   ซื้อจากแหล่งผลิตที่ไว้ใจได้ว่าผลิตอาหารได้มาตรฐานมีคุณภาพ
2.   ดูลักษณะกระป๋องควรใหม่ ไม่บุบ บวม รั่ว มีสนิม ชำรุด
3.   อ่านฉลากดูส่วนประกอบ ปริมาณน้ำหนัก ราคา เวลาที่ผลิต ชื่อผู้ผลิต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น